ไปที่หน้าเวบ SYSTEM-OF-BIO

๐ พลังงานทดแทน

          ๐ พลังงานทดแทน

          ๐ คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า

          ๐ พลังงานทดแทน ได้แก่

        ๐ พลังงานแสงอาทิตย์

        ๐ พลังงานลม

        ๐ พลังงานน้ำ

        ๐ พลังงานคลื่น

        ๐ พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง

        ๐ พลังงานชีวมวล

        ๐ พลังงานความร้อนใต้พิภพ

        ๐ เซลล์เชื้อเพลิง

        ๐ พลังงานนิวเคลียร์

 

 

(กดเลือกหัวข้อที่ต้องการศึกษา)

 

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า

พลังงานทดแทนมักนำมาผลิตพลังงานไฟฟ้า ไฟฟ้า คืออะไร?  เกิดขึ้นได้อย่างไร?

 

1.ไฟฟ้า

     ไฟฟ้าเกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนในตัวนำไฟฟ้า เกิดขึ้นเมื่อประจุเคลื่อนที่ผ่านตัวนำไฟฟ้า

 

2. กระแสไฟฟ้า

     กระแสไฟฟ้า หมายถึง การไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และปริมาณไฟฟ้าที่ไหลผ่านวงจร มีหน่วยวัดเป็นแอมแปร์ (A) ยิ่งค่าแอมแปร์มากเท่าไหร่ กระแสไฟฟ้าก็จะยิ่งไหลเข้ามาในวงจรมากขึ้นเท่านั้น

 

3. พลังงานกล

     • พลังงานกล เป็นผลรวมของพลังงานศักย์โน้มถ่วง และพลังงานจลน์

     • พลังงานศักย์โน้มถ่วง  เป็นพลังงานที่มีอยู่ในวัตถุ ภายใต้สนามโน้มถ่วงโลก มีค่ามากน้อยขึ้นกับมวลของวัตถุ และระดับอ้างอิงซึ่งเป็นระดับในแนวราบ

     • พลังงานจลน์ เป็นพลังงานที่มีอยู่ในวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ จะมากหรือน้อยขึ้นกับอัตราเร็วและมวล

 

กิจกรรมทบทวนเกี่ยวกับพลังงานกล

ภาระงาน

1. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น กลุ่มละ 6 คน

2. รับใบกิจกรรม เรื่อง พลังงานกล

3. ให้นักเรียนอ้านคำถามในใบกิจกรรม แบ่งหน้าที่ ในการหาคำตอบ ในแต่ละหัวข้อ

4. ส่งใบกิจกรรม คืนครู เมื่อตอบและเติมคำถามเรียบร้อยแล้ว

 

ดาวน์โหลดใบกิจกรรม

๐ ใบกิจกรรม พลังงานกล

 

4. แบตเตอรี่

     เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานเคมี เป็นพลังงานไฟฟ้า ประกอบด้วย เซลล์ไฟฟ้าเคมี หนึ่งเซลล์หรือมากกว่า ที่มีการเชื่อมต่อภายนอกเพื่อให้กำลังงานกับอุปกรณ์ไฟฟ้า

 

แบตเตอรี่แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ

     1) แบตเตอรี่แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง หรือ แบตเตอรี่ชนิดปฐมภูมิ
       (primary batteries)

     2) แบตเตอรี่แบบชาร์จไฟใหม่ได้ หรือ แบตเตอรี่ชนิดทุติยภูมิ
       (rechargeable batteries)

 

 

5. หม้อแปลงไฟฟ้า

      หม้อแปลงไฟฟ้า(Transformer) คือ เครื่องกลไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่ใช้เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยสามารถเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้า(Voltage)ให้เพิ่มขึ้นเรียกว่า “Step up Transformer”และให้ลดลงเรียกว่า “Step down Transformer” แต่ไม่เปลี่ยนกำลังไฟฟ้า และ ความถี่

     ไฟฟ้าแรงสูงนั้นมีค่าแรงดันไฟฟ้าสูงกว่าไฟฟ้าตามบ้านเป็นอย่างมาก และผ่านการแปลงด้วยหม้อแปลงไฟฟ้าตามจุดต่างๆ จนลดลงเหลือ 220V ที่ใช้งานตามบ้านทั่วไป การส่งไฟฟ้ามาในระยะทางไกลๆ จากโรงไฟฟ้า เป็นร้อยๆ กิโลเมตร จำเป็นจะต้องส่งไฟฟ้าที่มีแรงดันสูงออกมา เพราะไฟฟ้าที่มีแรงดันมากๆ จะสามารถเดินทางไปในระยะทางที่ไกลและลดการสูญเสียไฟฟ้าได้ดีกว่า

 

 

6.ไดนาโม

     ไดนาโม เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานไฟฟ้า มีส่วนประกอบสำคัญ ได้แก่ ขดลวดที่พันอยู่รอบแกน เรียกว่า อาเมเจอร์ (armature) แม่เหล็ก 2 แท่ง หันขั้วต่างกันเข้าหากัน เพื่อให้เกิดสนามแม่เหล็กโดยจะมีเส้นแรงแม่เหล็กพุ่งจากขั้วเหนือไปยังขั้ว ใต้ และบริเวณขั้วจะมีความเข้มของสนามแม่เหล็กมากกว่าบริเวณอื่นๆ หลักการเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้า

 

7. มอเตอร์

     มอเตอร์ (Motor) เป็นเครื่องที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล ประกอบด้วยขดลวดที่พันรอบแกนโลหะที่วางอยู่ระหว่างขั้วแม่เหล็ก โดยเมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปยังขดลวดที่อยู่ระหว่างขั้วแม่เหล็กจะทำให้ขดลวดหมุนไปรอบแกน และเมื่อสลับขั้วไฟฟ้าการหมุนของขดลวดจะหมุนกลับทิศทางเดิม

 

 

 

รวบรวมเรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา

เอกสารอ้างอิง

หนังสือรายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เล่ม2 ปรับปรุง พ.ศ. 2560 ตามหลักสูตรแกนกลางปี 2551